overclock overclock overclock
โอเวอร์คล็อก คืออะไร?
  • การโอเวอร์คล็อกเป็นขั้นตอนหรือวิธีการที่จะทำให้ซีพียูของคุณไม่ทำงานที่ความเร็วตามที่ระบุไว้ในสเปกเดิมจากโรงงาน โดยจะให้ซีพียูของคุณทำงานที่ความเร็วสูงกว่าทั้งความเร็วสัญญาณนาฬิกาภายในตัวซีพียูและ/หรีอความเร็วสัญญาณนาฬิกาของระบบบัสภายนอกซีพียู

ทำไมถึงต้องมีการโอเวอร์คล็อก ?

  • สาเหตุสำคัญที่ทำให้มีการโอเวอร์คล็อกนั้นมาจากความคิดที่ว่าจะทำอย่างไรให้ประสิทธิภาพของระบบคอมพิวเตอร์เพิ่มขึ้นโดยที่จะต้องเสียเงินน้อยที่สุด

ทำไมถึงไม่ควรทำการโอเวอร์คล็อก ?

  • ใช่ว่าการโอเวอร์คล็อกจะนำมาซึ่งประสิทธิภาพที่สูงขึ้นของซีพียูและระบบคอมพิวเตอร์เสมอไป เพราะอาจจะมีปัญหาตามมามากมายถ้าคุณโอเวอร์คลล็อกซีพียูของคุณไม่ถูกวิธี เช่น ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับซีพียูภายหลังจากการโอเวอร์คล็อก เป็นต้น มีรายงานมากมายเกี่ยวกับความเสียหายของซีพียูภายหลังจากการโอเวอร์คล็อก

สิ่งที่คุณควรคำนึงถึงสักเล็กน้อยก่อนการโอเวอร์คล็อกซีพียูของคุณ

  • ซีพียูของคุณอาจจะเสียหายได้จากปฏิกิริยาที่ชี่อว่า Electromigration ซึ่งปฏิกิริยา Electromigration นีจะเกิดขึ้นบนชิพซิลิกอนที่อยู่ในภายในซีพียูของคุณ เมี่อซีพียูขอคุณทำงานในสภาวะที่มีอุณหภูมิร้อนจัดและจะส่งผลให้ซีพียูของคุณเกิดความเสียหายแบบถาวรขึ้นได้ ด่อนที่คุณจะตกใจกับเรื่องนี้ขอให้คุณตระหนักอยู่อย่างหนึ่งว่า ซีพียูเกือบทุกรุ่นถูกออกแลลมาให้สามารถทำงานได้ที่อุณหภูมิในตัวซีพียูระหว่าง -25 ถึง 80 องศาเซลเซียส สมมติถ้าซีพียูทำงานโดยที่มีอุณหภูมิที่ 80 องศาเซลเซียสจริงๆ ก็คงจะไม่มีใครสามารถจับตัวซีพียูได้นานเกิน 1 ใน 10 ของวินาที มีโอกาสหรือทางเลือกมากมายที่จัทำให้ซีพียูทำงานในอุณหภูมิที่เย็นลงอย่งน้อยบนตัวของซีพียูควรมีอุณหภูมิต่ำกว่า 50 องศาเซลเซียส (อุณหภูมิภายในตัว ซีพียูจะสูงกว่าอุณหภูมิบนผิวของตัวซีพียู) โดยปกติแล้วซีพียูจะมีอายุการทำงานประมาณ 10 ปี แต่สัก 5ปี ผมว่าก็คงจะเริ่มเปลี่ยนหรืออัพเกรดกันแล้ว ดังนั้นปัญหาเรื่องอายุการใช้งานของซีพียูคงจะไม่สำคัญ แต่ปัญหาเรื่องความเร็วในการประมวลผลที่ลดลงเรื่อยๆ และปัญหาเรื่องความเสียหายของตัวซีพียูเนื่องจากปฏิกิริยา Electromigration นั้นคุณจะต้องกังวลเป็นแน่ ฉะนั้นทางที่ดีคุณควรจะทำให้ซีพียูของคุณเย็นที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ จะดีที่สุดโดยเฉพาะเมื่อคุณต้องการโอเวอร์คล็อก
การโอเวอร์คล็อกเป็นส่งที่เลวร้ายหรือไม่?
  • ถ้าคุณไม่อยาก, ไม่กล้า หรือกลัวการโอเวอร์คล็อกซีพียูของคุณ ก็ไม่มีเหตุผลที่คุณจะแกล้งหรือบิดเบือนความจริงกับผู้อื่น เกี่ยวกับความไม่กล้า หรือกลังการโอเวอร์คล็อกด้วยทัศนะคติแย่ๆ ของคุณเพราะอย่างน้อยบริษัทผู้ผลิตซีพียูต่างๆ ก็มีทัศนะคติว่าไม่ควรโอเวอร์คล็อกซีพียูของตน อยู่แล้ว ส่วนผู้ที่โอเวอร์คล็อกซีพียูของตนอยู่แล้วเพราะรู้ถึงคุณค่าและประโยชน์ที่ได้รับจากการโอเวอร์คล็อกก็ไม่ควรนิ่งเฉย เมื่อได้รับทัศนะคติที่ไม่ดีเกี่ยวกับการโอเวอร์คล็อก และควรจะบอกถึงประโยชน์ที่ได้รับ รวมทั้งสอนวิธีการให้กับผู้อื่นที่ไม่รู้ด้วย(ส่วนเขาจะทำหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับตัวเขาเอง)
  • การโอเวอร์คล็อกซีพียูนั้น เปรียบเสมือนเป็นการปรับแต่งประสิทธิภาพให้กับรถยนต์คุณอาจจะทำให้รถของคุณแรงสุดๆ ด้วยอุปกรณ์ซูเปอร์ชาร์จเจอร์ แต่สิ่งที่ต้องแลกเปลี่ยนก็คือรถของคุณจะหมดสภาพภายในระยะเวลาเพียงหนึ่งปี หรือ คุณอาจเลือกที่จะใช้เทอร์โบที่มีประสิทธิภาพในการเพิ่มกำลังเครื่องยนต์น้อยกว่าซูเปอร์ชาร์จ คุณก็ยังคงต้องแลกกับอายุการใช้งานเครื่องยนต์เหลือเพียง2-3ปีอยู่ดี แต่ถ้าคุณคิดว่าจะใช้ซีพียูของคุณไม่นานอยู่แล้ว เพราะคุณชอบอัพเกรดบ่อยๆ ก็คงจะไม่มีใครห้ามคุณได้ เพียงแต่การโอเวอร์คล็อกซีพียูมากๆ นั้นจึงต้องมีปัจจัยอื่นๆ มาเกี่ยวข้องด้วย เช่นระบบการระบายความร้อนที่ต้องดีเยี่ยม

สิ่งจำเป็นสำหรับการโอเวอร์คล็อก

1.ซีพียู
- ควรเลือกใช้ ซีพียูที่มีประสิทธิภาพสูง เหมาะสำหรับการโอเวอร์คล็อก อย่างเช่น ซีพียูของอินเทล เพราะคุณจะได้ไม่ต้องยุ่งยากกับระบบระบายความร้อนมากนัก อีกทั้งเป็นซีพียูที่ไม่ค่อยมีปัญหากับการโอเวอร์คล็อก

- ควรตรวจสอบดูว่าซีพียูของคุณไม่ได้เป็นซีพียูปลอมหรือรีมาร์ค โดยการดูจากรหัสที่อยู่ด้านใต้ตัวซีพียูว่าเป็น รุ่น ใดตรงกับ ความเร็ว ที่ระบุไว้หรือไม่

2. เมนบอร์ด
- คุณภาพของเมนบอร์ดเป็นสิ่งที่สำคัญมากต่อการโอเวอร์คล็อก ควรเลือกเมนบอร์ดที่มียี่ห้ออยู่สักหน่อยจะดีที่สุด

- คุณควรจะหาเมนบอร์ดที่สนับสนุนการทำงานบนความเร็วของระบบบัสเกิน 66 MHz ที่ 75,83 หรือ 100 MHz

- เมนบอร์ดที่เหมาะสำหรับการโอเวอร์คล็อกนั้นควรจะมีการสนับสนุนระดับแรงดันไฟกว้างอยู่สักหน่อย มาตรฐานแรงดันไฟที่เมนบอร์ดทั่วๆไปควรจะสนับสนุนนั้นมีระดับแรงดัน STD (3.3 volt)และ VRE (3.45 ถึง 3.6 Volt หรือเฉลี่ยประมาณ 3.52 Volt) สำหรับซีพียูตระกูลเพนเทียม,6x86 และ K5 ถ้าคุณต้องการใช้ซีพียูตระกูลเพนเทียม MMX, 6x86L, 6x86MX, K6 เมนบอร์ดของคุณก็ต้องสนับสนุนแรงดันไฟแบบ Split Voltage

3. หน่วยความจำหลัก(RAM)
- การเลือกใช้หน่วยความจำหลักจะสำคัญขึ้นมาทันที เช่น ถ้าคุณทำการโอเวอร์คล็อกซีพียูของคุณด้วยระบบบัสความเร็ว 83 MHz หน่วยความจำหลักแบบ EDO จะต้องเป็นรุ่นที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าทั่วๆไป(ควรหารุ่นที่มีความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลต่ำกว่า 60 ns) แต่ทางที่ดีถ้าเป็นไปได้ควรจะเลือกใช้หน่วยความจำหลักแบบ SDRAM จะดีที่สุด เพราะแรมชนิดนี้สามารถรองรับความเร็วในการทำงานของระบบบัสได้สูงสุดถึง 100 MHz

4. ระบบระบายความร้อน
- ระบบระบายความร้อนสำหรับซีพียูนั้นเป็นสิ่งสำคัญมาก คุณอย่าคิดว่าแผ่นระบายความร้อน และพัดลมขนาดเล็กที่มาเป็นมาตรฐานสำหรับซีพียูของคุณจะเพียงพอ เพราะแผ่นระบายความร้อน และพัดลมนั้นไม่ได้ถูกออกแบบมาสำหรับรองรับความร้อนของซีพียูที่เกิดขึ้นจากการโอเวอร์คล็อก

- ในกรณีที่ซีพียูของคุณเป็นรุ่นที่มีแผ่นระบายความร้อนติดตั้งมาพร้อมกับพัดลมบนตัวซีพียูเลย (ติดแบบตายตัว)คุณก็คงจะไม่สามารถเปลี่ยนแผ่นระบายความร้อนที่ติดอยู่กับตัวซีพียูออกได้ นอกจากคุณจะดัดแปลงเอง เช่นตัดแผ่นระบายความร้อนที่ติดอยู่กับตัวซีพียูออกด้วยเครื่องมือตัดพิเศษ แต่ถ้าคุณไม่อยากเสี่ยงหรือยุ่งยากกับการดัดแปลงการติดพัดลมระบายความร้อนเพิ่มเติมเพื่อระบายความร้อนจากภายในตัวเคส หรือจากภายในเครื่องออกภายนอกก็เป็นวิธีที่ดีวิธีหนึ่งเพราะความร้อนที่เกิดขึ้นจากอุปกรณ์ต่างๆ ภายในตัวเครื่องมีทั้งเกิดจาก ซีพียูเอง, ชิพเซ็ต, วงจรภาคจ่ายไฟบนเมนบอร์ด, ฮาร์ดดิสก์, ชิพเร่งความเร็วกราฟิก, การ์ดต่างๆ ที่เสียบอยู่บนเมนบอร์ด เป็นต้น คุณลองคิดดูว่าความร้อนจากอุปกรณ์ทุกตัวรวมกันจะทำให้อุณหภูมิภายในตัวเคสสูงขนาดไหน อีกประการหนึ่งการระบายความร้อนจากภายในตัวเคสออกภายนอกยังเป็นวิธีระบายความร้อนให้กับซีพียูอีกวิธีหนึ่งเนื่องจากอากาศที่พัดลมจะดูดเข้าไปเพื่อเป่าให้กับซีพียูหรือแผ่นระบายความร้อนที่แปะติดอยูกับซีพียูนั้น เป็นอากาศที่มาจากภายในตัวเคส ถ้าอุณหภูมิของอากาศภายในตัวเคสสูงเนื่องจากอุปกรณ์ต่างๆที่อยู่ภายในตัวครื่อง ถูกเป่าลงบนแผ่นระบายความร้อนของซีพียู ก็เปรียบเสมือนการเป่าลมร้อนไปบนแผ่นระบายความร้อนของซีพียูแล้วจะใช้เวลานานแค่ไหนกว่าอุณหภูมิของซีพียูจะเย็นลง

- ในการติดตั้งพัดลมสำหรับดูดอากาศออกตัวที่สองนี้อาจจะยุ่งยากหรืออาจจะหาที่ติดตั้งไม่ได้ โดยเฉพาะตัวเคสรุ่นเก่าหรือเคสประเภทวางนอนหรือมินิเทาว์เวอร์ซึ่งคุณอาจจะต้องดัดแปลง เช่น เจาะรูระบายความร้อน และรูยึดพัดลมเพิ่มเองจากบริเวณที่ว่างอื่นๆ แต่ถ้าคุณใช้เคสรุ่นที่เป็นมิเดียมเทาว์เวอร์ (Middle Tower) หรือ ฟูลเทาว์เวอร์ (Full Tower) หรือเคสรุ่นใหม่ที่เป็น ATX คุณก็คงไม่เดือดร้อนสักเท่าไหร่เพราะมีพื้นที่ให้คุณติดตั้งพัดลมเพิ่มได้แน่ๆ ถ้าเคสของคุณเป็นประเภท ATX ละก็อาจจะมีช่องสำหรับการติดพัดลมเพิ่มมาให้อยู่แล้วซึ่งคุณเพียงเปิดฝาที่ปิดช่องพัดลมนั้นออกแล้ว หาพัดลมขนาดพอดีกับช่องพัดลมนั้นมาติดตั้งและยึดน็อต คุณก็จะเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายความร้อนได้แล้ว

- ในกรณีของซีพียูที่ไม่มีแผ่นระบายความร้อน และพัดลมติดมาเป็นมาตรฐานนั้น(แผ่นระบายความร้อนและซีพียูไม่ได้ติดเป็นชิ้นเดียวกัน) การเพิ่มพื้นที่หน้าสัมผัส หรือการลดช่องว่างระหว่างซีพียูกับแผ่นระบายความร้อนก็เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยเพิ่มความสามารภให้กับระบบระบายความร้อน โดยใช้วัสดุหรือน้ำยาพิเศษที่เรียกว่า ซิลิโคน สำหรับช่วยในการระบายความร้อน(ต้องไปหาซื้อที่ร้านขายอุปกรณ์อิเล็คโทรนิคส์ หรือที่บ้านหม้อ) ซิลิโคนนี้จะมีสีขาวจะช่วยเป็นเสมือนน้ำยาประสานระหว่างซีพียูและแผ่นระบายความร้อนให้สนิทกันมากขึ้นและช่วยเพิ่มความสามารถในการนำพาความร้อนด้วย(ซิลิโคนเป็นฉนวนไม่นำไฟฟ้า)

- ความจริงการระบายความร้อนที่สมบูรณ์นั้นควรจะต้องมีระบบการไหลของอากาศที่ดี การติดตั้งพัดลมดูดอากาศออกเพียงอย่างเดียวก็อาจจะไม่เพียงพอ แต่ถ้าคุณจะติดพัดลมระบายอากาศอีกสักตัวหนึ่งเพื่อทำหน้าที่ดูดอากาศที่เย็นกว่าจากภายนอกเข้ามา และเป่าลงบนอุปกรณ์ต่างๆ โดยตรงจะทำให้ประสิทธิภาพในการระบายความร้อนดียิ่งขึ้น บริเวณที่มักจะใช้ในการติดตั้งพัดลม (ตัวที่หนึ่งคือ ซีพียู, ตัวที่สองคือ พัดลมดูดอากาศออก) ตัวที่สามนี้ จะอยู่ตรงด้านหลังของฝาเคสด้านหน้าตัวเครื่อง หรือบริเวณที่มักจะถูกติดตั้งลำโพงขนาดเล็กภายในเครื่องซึ่ง บริเวณดังกล่าวถ้าดูดีๆ จะมีพื้นที่สำหรับติดพัดลมได้พอดี เพียงแต่คุณต้องหาพัดลมที่มีขนาดพอดีกับช่องน็อตสำหรับยึดพัดลมเท่านั้น เมื่อคุณติดตั้งพัดลมตัวที่สามเข้าไป อากาศที่มีอุณหภูมิเย็นกว่าจากภายนอกก็จะถูกดูดผ่านช่องที่ถูกออกแบบไว้ก่อนแล้ว บริเวณด้านหน้าล่างของตัวเคสแล้วเป่าเข้าไปยังกลุ่มของการ์ดต่างๆ พอดีโดยตรง

สรุปลำดับความสำคัญและขั้นตอนการพัฒนาประสิทธิภาพในการระบายความร้อนโดยใช้พัดลม

1. เปลี่ยนขนาดของแผ่นระบายความร้อน และพัดลมสำหรับซีพียู
2. เพิ่มพัดลมดูดอากาศจากภายในตัวเคสออกภายนอก
3. ใช้ซิลิโคนสำหรับระบายความร้อน ทาหรือเป็นตัวประสานระหว่างแผ่นระบายความร้อนกับซีพียู
4. เพิ่มพัดลมดูดอากาศจากภายนอกเป่าโดยตรงไปยังการ์ดต่างๆ
5. คุณอาจจะต้องติดแอร์ให้กับห้องคอมพิวเตอร์ของคุณ หรือเปิดฝาตัวเคสไว้ตลอดเวลา(ถ้าจำเป็นจริงๆ)

เริ่มต้นการโอเวอร์คล็อก
คุณสมบัติมาตรฐานของซีพียูแต่ละรุ่น
ตารางแสดงประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นจากการเพิ่มอัตราการคูณความเร็ว
ตารางแสดงผลการโอเวอร์คล็อก

เพิ่มเติม overclockภาษาอังกฤษ